โษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

มรดกโลก


มรดกโลก

อีเมลพิมพ์PDF
มรดกโลก มรดกอันทรงคุณค่าที่มนุษย์ได้รับจากอดีต ได้ใช้ และภาคภูมิใจในปัจจุบัน และถือเป็นพันธกรณีในการทนุบำรุงดูแลรักษา เพื่อมอบให้เป็นมรดกอันล้ำค่าแด่มวลมนุษย์ในอนาคต



RTEmagicC_world_heritage_02_jpg
ตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก (The World Heritage Convention) ได้แบ่งพื้นที่มรดกโลกออกเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม (cultural heritage) มรดกโลกทางธรรมชาติ (natural heritage) และมรดกโลกแบบผสมผสาน (mixed heritage) ปัจจุบันมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในประเทศต่างๆทั่วโลก 134 ประเทศ จำนวน 788 แหล่ง แบ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม 611 แหล่ง มรดกทางธรรมชาติ 154 แหล่ง และเป็นแบบผสมผสาน 23 แหล่ง ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือระดับนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้แหล่งมรดกโลกได้รับการคุ้มครองและสงวนรักษาอย่างจริงจัง
 



RTEmagicC_world-heritage-of-culture01_jpg
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2530 และเห็นชอบให้นำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยรวม 6 แหล่ง เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะตะรุเตา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง


RTEmagicC_Sukhothai_jpg
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 15 ปีพ.ศ. 2534 ที่ประเทศสาธารณรัฐตูนิเซีย แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมจำนวน 2 แหล่ง คืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากับแหล่งมรดกทางธรรมชาติ 1 แหล่งคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศให้บรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก และในปีถัดมาคือพ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 16 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง
RTEmagicC_khaoyai03_01_jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น