โษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ศาสนาซิกซ์


วัดซิกข์ คุรุควารา จังหวัดภูเก็ต




 a-  A+ 
คุรุควาราสมาคมศรีคุรุสิงภ์สภา (วัดซิกข์)  ของจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 8 ถนนสุทัศน์ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง
วัดของศาสนาซิกข์จะเรียกว่า คุรุดวารา ซึ่งหมายถึงประตูหรือทางที่ทอดไปสู่พระศาสดา ในคุรุดวาราทุกแห่งพระศาสดาคุรุ ครันธ์ซาฮิบจะถูกอัญเชิญมาประทับฐานในห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เป็นสถานที่สวดภาวนาและประกอบศาสนากิจประจำวัน
เหตุที่ชาวซิกข์ต้องมีศาสนสถานขึ้นเพื่อประกอบกิจกรรม ทางศาสนานั้นเนื่องจากว่าในสังคมของชาวซิกข์นั้น คำสอนทางศาสนามุ่งเน้นถึงความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือกันภายในชุมชน
ชาวซิกข์สามารถใช้สถานที่ใดๆ ก็ได้เป็นศาสนสถาน แต่บริเวณนั้นต้องสะอาด และมีที่ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ศรีคุรุ ครันธ์ซาฮิบที่สมพระเกียรติ์ซึ่งเป็นพระศาสดานิรันดร์กาลของซิกข์
โดยที่ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์จะสร้างเป็นบัลลังก์ หรือยกพื้นสูงกว่าบริเวณที่นั่งชุมนุมเจริญธรรมโดยรอบเหนือแท่นต้องมีผ้าคล้ายฉัตรคาดอยู่เบื้องบน บริเวณใดที่มีพระมหาคัมภีร์ศรีคุรุครันธ์ซาฮิบทรงประทับอยู่ บริเวณนั้นถือได้ว่าเป็นศาสนสถานของชาวซิกข์
บุคคลทุกผู้วัยไม่จำกัดว่ามีวรรณะใด หรือความเชื่อถือใด หรือมีประเพณี หรือสัญชาติใดก็ตาม ต่างก็สามารถเข้าไปสักการะภายในคุรุดวาราได้ โดยก่อนจะเข้าไปภายในอาคารคุรุดวารา ทุกคนจะต้องถอดรองเท้าและคลุมศรีษะของตน (ในกรณีที่ไม่ได้โพกผ้าสวมศรีษะเช่นชาวซิกข์ เพื่อเป็นการแสดงการเคารพ)
ณ ที่นี้ไม่ว่าจะสูงศักดิ์หรือต่ำต้อย มั่งมีหรือยากจน ทุกคนจะรับประทานอาหารชนิดเดียวกัน นั่งร่วมกันเป็นแถวเดียว ครัวนี้ดำเนินการโดยการร่วมใจ เสียสละของชาวซิกข์ด้วยกัน สถาบันครัวประชาคมเสรีนี้เป็นพลังดำเนินการสำคัญที่ได้สร้างความเสมอภาคทาง สังคมระหว่างมวลมนุษย์ชาติอย่างแท้จริง
ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่ง ของศาสนสถานของซิกข์กับศาสนสถานของศาสนาอื่นๆ ก็คือ ไม่มีข้อบังคับหรือ ข้อกำหนดใดๆ ที่ว่าศาสนสถานของซิกข์จะต้องออกแบบก่อสร้างตามแบบอย่างของสถาปัตย์ใดโดยเฉพาะ นอกจากนี้ อาคารศาสนสถานคุรุดวารา จะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาด และจะสามารถสร้างหันหน้าไปทิศทางใดก็ได้
เพียงแต่จะมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับ การก่อสร้างบัลลังก์ที่ประทับของพระศาสดาศรีคุรุครันธ์ซาฮิบเท่านั้น ว่าจะต้องประดิษฐานบนที่ประทับที่อยู่สูงกว่าที่นั่งของศาสนิกชนทั้งปวง และจะต้องมีฉัตรหรือโดมครอบอยู่ด้านบนด้วย
ในศาสนาซิกข์จะไม่มีนักบวช – พระ หรือ นักบุญ แต่ว่าผู้ที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาประจำวัน จะถูกขนานนามว่า “ครันธี่” ศาสนาจารย์ ผู้ที่นำสวดภาวนาเป็นทำนองเพลงจะมีนามว่า “ราฆี้” สังคีตจารย์ และการร้องบทสวดเรียกว่า “กีรตัน” ซึ่งเป็นบทสวดภาวนาสดุดี พระองค์ผู้ประเสริฐ – วาเฮ่คุรุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น